สวัสดีครับ ผมโค้ชเอก สำหรับบทความนี้ผมจะมาสอนสมาชิกทุกท่านดูเอกสาร ศรีกรุงโบรคเกอร์ ค่าคอมมิชชั่น ในแต่ละช่องให้ได้เข้าใจกัน
แต่ละเดือนทางบริษัทจะมีการอัพเดทเอกสารค่าคอมมิชชั่นให้กับสมาชิก เพื่อให้ทราบถึง การปรับเพิ่ม การปรับลด ค่าคอมมิชชั่น % ของแต่ละบริษัทประกัน และประเภทสินค้าประกันภัย เพื่อจะได้ทราบถึงรายได้ค่าคอมมิชชั่นในแต่ละเดือนว่าได้เท่าไหร่ จะได้วางแผนในการขายได้อย่างถูกต้อง
ศรีกรุงโบรคเกอร์ ค่าคอมมิชชั่น %
ให้สมาชิกทุกท่านดูเอกสารค่าคอมมิชชั่น
ของระดับ 6 ประกอบเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น
ช่องที่ 1 ระดับตำแหน่งสมาชิก
ระดับตำแหน่งสมาชิกขอแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
- สมาชิกระดับตำแหน่ง 6 (Member) ไม่มีบัตรนายหน้าประกันภัย
- สามาชิกระดับตำแหน่ง 1 – 5 (Bussiness Member) มีบัตรนายหน้าประกันภัย
ระดับตำแหน่ง 6 Member
สมาชิกระดับ 6 คือ สมาชิกที่ไม่มีบัตนายหน้าประกันภัย สมาชิกระดับนี้สามารถซื้อสินค้าประกันภัยของตัวเอง และญาติพี่น้องในครอบครัวได้ทั้งหมดแต่ต้อง นามสกุลเดียวกันเท่านั้น ไม่สามารถรับรายได้ค่าคอมมิชชั่นจากการขายสินค้าประกันภัยได้ รับได้เฉพาะส่วนลดจากการซื้อใช้เองเท่านั้น
สมาชิกระดับ 6 จะมีเอกสาร ศรีกรุงโบรคเกอร์ ค่าคอมมิชชั่น % เป็นมาตรฐานเพื่อให้ได้รับส่วนลดสำหรับการซื้อสินค้าประกันภัย ของแต่ละบริษัทประกัน
ระดับตำแหน่ง 1 – 5 Business Member
สมาชิกระดับ 1 – 5 คือ สมาชิกที่มีบัตรนายหน้าประกันภัย สมาชิกระดับนี้สามารถซื้อสินค้าประกันภัยของตัวเอง และญาติพี่น้องในครอบครัวได้ทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะต่างนามสกุลกันก็สามารถซื้อได้ สามารถรับรายได้ค่าคอมมิชชั่นจากการขายสินค้าประกันภัย และสินค้าประกันชีวิตได้ทุกประเภท และสามารถขายได้ทุกบริษัทประกัน
สมาชิกระดับ 1 – 5 จะมีเอกสาร ศรีกรุงโบรคเกอร์ ค่าคอมมิชชั่น % แยกตามระดับตำแหน่ง 1 – 5 เป็นมาตรฐานเพื่อให้ได้รับส่วนลดสำหรับการซื้อใช้ และรับรายได้ค่าคอมมิชชั่นจากการขายสินค้าประกันภัย
สมาชิกระดับ 1 – 5 ค่าคอมมิชชั่น % จะไม่เท่ากัน ที่ไม่เท่ากันเพราะสมาชิกระดับ 1 – 5 ค่าตำแหน่ง % ได้ไม่เท่ากัน สามารถดูค่าตำแหน่ง % จากรูปด้านล่างช่องที่ 4 ดังนี้
แผนการตลาด ศรีกรุงโบรคเกอร์ MGM
ค่าคอมมิชชั่น % ระดับ 6 แต่ละบริษัท แต่ละประเภทสินค้าประกัน จะไม่เท่ากัน
จากรูปด้านบนขอสรุป และยกตัวอย่าง ค่าคอมมิชชั่น % ของแต่ละระดับตำแหน่งดังนี้
ระดับ 6 (Member) สมาชิก = ค่าตำแหน่ง 0%
- ค่าคอมมิชชั่น % (ระดับ 6) + ค่าตำแหน่ง 0% = ค่าคอมมิชชั่น %
- เช่น บริษัทวิริยะประกันภัย ประกันรถยนต์ชั้น 1 ค่าคอมมิชชั่น 12% + ค่าตำแหน่ง 0% = 12%
ระดับ 5 (Am.) หัวหน้าขยายงาน = ค่าตำแหน่ง 3%
- ค่าคอมมิชชั่น % (ระดับ 6) + ค่าตำแหน่ง 3% = ค่าคอมมิชชั่น %
- เช่น บริษัทวิริยะประกันภัย ประกันรถยนต์ชั้น 1 ค่าคอมมิชชั่น 12% + ค่าตำแหน่ง 3% = 15%
ระดับ 4 (Dm.) ผู้จัดการขยายงาน = ค่าตำแหน่ง 4%
- ค่าคอมมิชชั่น % (ระดับ 6) + ค่าตำแหน่ง 4% = ค่าคอมมิชชั่น %
- เช่น บริษัทวิริยะประกันภัย ประกันรถยนต์ชั้น 1 ค่าคอมมิชชั่น 12% + ค่าตำแหน่ง 4% = 16%
ระดับ 3 (Grd.) ผู้อำนวยการบริหาร = ค่าตำแหน่ง 5%
- ค่าคอมมิชชั่น % (ระดับ 6) + ค่าตำแหน่ง 5% = ค่าคอมมิชชั่น %
- เช่น บริษัทวิริยะประกันภัย ประกันรถยนต์ชั้น 1 ค่าคอมมิชชั่น 12% + ค่าตำแหน่ง 5% = 17%
ระดับ 2 (Egrd.) ผู้อำนวยการอาวุโส = ค่าตำแหน่ง 5.5%
- ค่าคอมมิชชั่น % (ระดับ 6) + ค่าตำแหน่ง 5.5% = ค่าคอมมิชชั่น %
- เช่น บริษัทวิริยะประกันภัย ประกันรถยนต์ชั้น 1 ค่าคอมมิชชั่น 12% + ค่าตำแหน่ง 5.5% = 17.5%
ระดับ 1 (Vp.) รองกรรมการฝ่ายบริหาร = ค่าตำแหน่ง 6%
- ค่าคอมมิชชั่น % (ระดับ 6) + ค่าตำแหน่ง 6% = ค่าคอมมิชชั่น %
- เช่น บริษัทวิริยะประกันภัย ประกันรถยนต์ชั้น 1 ค่าคอมมิชชั่น 12% + ค่าตำแหน่ง 6% = 18%
ช่องที่ 2 เดือนของเอกสารคอมมิชชั่น
สมาชิกจะได้รับเอกสาร ศรีกรุงโบรคเกอร์ ค่าคอมมิชชั่น % ของแต่ละเดือนจากเจ้าหน้าที่สาขา หรือผู้แนะนำเป็นผู้ส่งให้ เพื่ออัพเดทเอกสารค่าคอมมิชชั่นให้ถูกต้อง สมาชิกต้องตรวจสอบว่าแต่ละบริษัทประกัน และประเภทสินค้าประกันไหนมีการเปลี่ยนแปลง ปรับเพิ่ม หรือปรับลด ค่าคอมมิชชั่น % บ้างเพื่อจะได้วางแผนในการขาย การคิดค่าคอมมิชชั่นที่ตัวเองจะได้ และยอดนำส่งเข้าบริษัทได้ถูกต้อง
ช่องที่ 3 ชื่อบริษัทประกันภัย
วิธีการดูให้ดูตามแนวแถว เรียงลำดับที่ 1- 36 บริษัท บริษัทประกันภัยที่สามารถขายได้มีทั้งหมด 36 บริษัทดังนี้
ลำดับแถวที่
- 1 – วิริยะประกันภัย
- 2 – อาคเนย์ประกันภัย
- 3 – อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย
- 4 – ประกันภัยไทยวิวัฒน์
- 5 – เอ็มเอสไอจี ประกันภัย
- 6 – สินมั่นคงประกันภัย
- 7 – คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (คุ้มภัย)
- 8 – เอเชียประกันภัย 1950
- 9 – แอลเอ็มจี ประกันภัย
- 10 – คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (โตเกียว)
- 11 – เมืองไทยประกันภัย
- 12 – เทเวศประกันภัย
- 13 – ไทยศรีประกันภัย
- 14 – ไทยเศรษฐกิจประกันภัย
- 15 – อินทรประกันภัย
- 16 – นำสินประกันภัย
- 17 – ศรีอยุธยาประกันภัย
- 18 – ไทยประกันภัย
ลำดับแถวที่
- 19 – ทูนประกันภัย
- 20 – เจนเนอราลี่ ประกันภัย
- 21 – สยามซิตี้ประกันภัย
- 22 – กรุงเทพประกันภัย
- 23 – ไพบูลย์ประกันภัย
- 24 – ทิพยประกันภัย
- 25 – ชับบ์สามัคคีประกันภัย
- 26 – แอคซ่าประกันภัย
- 27 – เอไอจี ประกันภัย
- 28 – ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย
- 29 – เจพี ประกันภัย
- 30 – คิง ไว ประกันภัย
- 31 – เอ็ทน่า ประกันสุขภาพ
- 32 – ธนชาติประกันภัย
- 33 – สินทรัพย์ประกันภัย
- 34 – ซมโปะ ประกันภัย
- 35 – แปซิฟิค ครอส ประกันสุขภาพ
- 36 – กรุงไทยพานิชประกันภัย
ช่องที่ 4 กลุ่มสินค้า Non Motor
วิธีการดูให้ดูที่ช่องในแนวตั้ง กลุ่มสินค้า Non Motor แบ่งออกเป็น 9 ประเภทสินค้าตามช่องของเอกสารค่าคอมมิชชั่น ดังนี้
ชำดับช่องที่
- 1 – Fire ประกันอัคคีภัย (Fire Insurance)
- 2 – IAR ประกันการเสี่ยงภัย (Industrial all Risks)
- 3 – CAR ประกันงานก่อสร้าง (Contractors all Risks)
- 4 – PA ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Peronal Accident)
- 5 – TA ประกันภัยการเดินทาง (Travel Accident Insurance)
- 6 – Mis ประกันภัยเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Insurance)
- 7 – Marine ประกันการขนส่งทางทะเล (Marine Insurance)
- 8 – ขนส่ง ประกันการขนส่งทางบก
- 9 – สุขภาพ ประกันสุขภาพ
ช่องที่ 5 – กลุ่มสินค้า Motor พ.ร.บ.รถยนต์
วิธีการดูให้ดูที่ช่องในแนวตั้ง กลุ่มสินค้า พ.ร.บ.รถยนต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามช่องของเอกสารค่าคอมมิชชั่น ดังนี้
ลำดับช่องที่
- 1 – รถเก๋งกระบะ ได้แก่ รถเก๋ง, รถกระบะ 4 ประตู, รถกระบะ (ส่วนบุคคล, นิติบุคคล, รับจ้าง)
- 2 – อื่น ๆ ได้แก่ รถตู้ รถแท็กซี่ รถใหญ่ และรถประเภทอื่น
* รถจักรยานยนต์ ไม่ได้ค่าคอมมิชชั่น ทุกระดับตำแหน่งสมาชิก *
ช่องที่ 6 – กลุ่มสินค้า Motor ประกันรถยนต์
วิธีการดูให้ดูที่ช่องในแนวตั้ง กลุ่มสินค้า ประกันรถยนต์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามช่องของเอกสารค่าคอมมิชชั่น ดังนี้
ลำดับช่องที่
- 1 – ประกันรถประเภท 1, ประเภท 2
- 2 – ประกันรถประเภท 3 เฉพาะ รถใหญ่
- 3 – ประกันรถประเภท 3, ประเภท 2 พลัส, ประเภท 3 พลัส
ช่องที่ 7 – เรตพิเศษ
เป็นเงื่อนไขพิเศษของค่าคอมมิชชั่น % ที่แตกต่างจากค่าคอมมิชชั่น % ปกติของช่องสินค้า Non Motor และช่องสินค้า Motor ก่อนแจ้งงานตรวจสอบว่าแพคเกจสินค้าที่เสนอขายให้ลูกค้าอยู่ในช่องเรตพิเศษหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ถามเจ้าหน้าจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการคิดค่าคอมมิชชั่น
วิธีการดูให้ดูที่ช่องในแนวตั้ง เรตพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 เรตพิเศษตามช่องของเอกสารค่าคอมมิชชั่น ดังนี้
ลำดับช่องที่
- 1 – เรตพิเศษ 1
เช่น แถวที่ 4 ประกันไทยวิวัฒน์ เรตพิเศษ 1 ประกันรถ 2+, 3+, 3 รถใหญ่ ค่าคอมมิชชั่น 12% จากช่องปกติ - 2 – เรตพิเศษ 2
เช่น แถวที่ 13 ไทยศรีประกันภัย เรตพิเศษ 2 แพคเกจ Bike สมัครใจ, แพคเกจสุดคุ้ม ค่าคอมมิชชั่น 10% จากช่องปกติ - 3 – เรตพิเศษ 3
เช่น แถวที่ 13 ไทยศรีประกันภัย เรตพิเศษ 3 พ.ร.บ.Bike ค่าคอมมิชชั่น 0% จากช่องปกติ
ช่องที่ 8 – บริษัทประกัน ที่รับผ่อนชำระ
ช่องนี้เพื่อดูว่าบริษัทประกันไหนรับผ่อนชำระ และไม่รับผ่อนชำระบ้าง วิธีการดูให้ดูที่ช่องในแนวตั้ง ช่องผ่อน และช่องบัตร
ลำดับช่องที่
- 1 – ผ่อน
- 2 – บัตรลูกค้า
ช่องที่ 9 เงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม
ช่องนี้อยู่แถวล่างสุดจากตารางค่าคอมมิชชั่น เป็นเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมที่ต้องรู้ ขออธิบายคร่าว ๆ ดังนี้
ลำดับแถวที่
- 1 – คอมมิชชั่น % ที่มี เครื่องหมาย * ไม่มีค่าสายงาน และไม่มีค่าแนะนำ แต่นับประเมินผลงานยอดขาย
- 2 – เบิกกรมธรรม์ไปคีย์ได้คอมมิชชั่น % เพิ่มจากจากคีย์ ประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ได้เพิ่ม 2%, ประกันภาคสมัครใจได้เพิ่ม 1%
สรุป ศรีกรุงโบรคเกอร์ ค่าคอมมิชชั่น
ผลตอบแทนที่นายหน้าประกันภัยจะได้รับ